เภสัชกรรมฟื้นฟูสภาวะเสื่อม Regenerative Pharmacy

Pharmacy Challenges in the 21st Century

Posted by วีระพงษ์ ประสงค์จีน บน มกราคม 28, 2010

ความรู้เกี่ยวกับเซลล์ต้นกำเนิดได้เปิดประตูไปสู่แนวคิดการส่งเสริมสุขภาพและการรักษาทางการแพทย์แนวใหม่ เวชศาสตร์ฟื้นฟูสภาวะเสื่อม หรือการแพทย์เชิงฟื้นฟู (regenerative medicine) นั้นหมายถึง การแพทย์แขนงใหม่ที่มุ่งเน้นการทดแทน การซ่อมเสริม การฟื้นฟูเซลล์, เนื้อเยื่อ หรืออวัยวะที่เสื่อมถอยหรือได้รับบาดเจ็บทั้งจากความแก่ตามธรรมชาติและโรคภัยไข้เจ็บ เทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ก้าวหน้าไปมาก จากที่เราเคยกินยาเม็ดหรือยาน้ำ (เภสัชภัณฑ์ทั่วไป) ในปัจจุบันเราก็ได้มีการพัฒนาเป็นการบำบัดด้วยยีน (gene therapy) เนื้อเยื่อที่ผ่านการดัดแปลง (engineered tissue) การรักษาโดยใช้เซลล์ต้นกำเนิดและเซลล์ที่ได้จากเซลล์ต้นกำเนิด (stem cell-based therapy) รวมทั้งเวชศาสตร์นาโน (nanomedicine) เป็นต้น ประเทศในแถบยุโรปเรียกผลิตภัณฑ์ยากลุ่มนี้ว่า Advanced Therapy Medicinal Products (ยา ATMPs)

การพัฒนาเวชศาสตร์ฟื้นฟูสภาวะเสื่อมจึงเป็นการทำงานร่วมกันของนักวิจัยหลายแขนง สำหรับแวดวงเภสัชศาสตร์และศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องนั้น เราสามารถช่วยพัฒนาศาสตร์ใหม่แขนงนี้ได้หลายประการทั้งในด้านเภสัชวิทยาศาสตร์ (pharmaceutcal science) และงานบริบาลเภสัชกรรม (pharmaceutical care)

การเกิดขึ้นของระบบควบคุมและกำกับดูแลยากลุ่มใหม่ ATMPs ในประชาคมยุโรปนั้นยิ่งเป็นแรงกระตุ้นให้ผู้เขียนอยากจะเผยแพร่แนวคิดนี้ เพื่อให้องค์กรที่รับผิดชอบในประเทศไทยได้มีการผลักดันทางนโยบายอันจะเกิดประโยชน์ทั้งต่อผู้บริโภคและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง

ผู้เขียนจึงอยากจะนำเสนอแนวทางการศึกษาวิจัยด้านเภสัชกรรมฟื้นฟูสภาวะเสื่อม ดังนี้

  1. เภสัชวิทยาการฟื้นฟูสภาวะเสื่อม (Regenerative pharmacology)
  2. การศึกษากระบวนการเกิดโรค (Disease modelling ) โดยใช้เซลล์ต้นกำเนิด
  3. การศึกษาพิษวิทยา (toxicology) ของสารเคมี, สารพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม, ยา, อาหาร, สมุนไพร และเครื่องสำอาง โดยใช้เซลล์ต้นกำเนิด
  4. การสังเคราะห์สารโมเลกุลเล็กเพื่อการผลิตเซลล์ต้นกำเนิดจากการเหนี่ยวนำ (Small molecules for generating induced pluripotent stem cells)
  5. วิศวกรรมเนื้อเยื่อและชีววัศดุศาสตร์ (tissue engineering & medical biomaterials)
  6. การพัฒนาเภสัชภัณฑ์ (Stem cell research for pharmaceutical development ) และ การค้นคว้ายาใหม่ (drug discovery)
  7. ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ขั้นสูง Advanced therapy medicinal products (ATMPs)
  8. ความปลอดภัยจากจุลินทรย์ (Microbial and Viral safety) ในการพัฒนาเภสัชภัณฑ์ขั้นสูง
  9. การตั้งตำรับผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ขั้นสูง ( formulations for advanced therapy medicinal products) เช่น สเปรย์, เจล, ยาน้ำ หรือ electrospray เป็นต้น
  10. ตระหนักว่าเซลล์ต้นกำเนิดคือเป้าหมายการออกฤิทธิ์ของยา (เซลล์ต้นกำเนิดทำงานผิดปกติ——->เกิดโรคภัยไข้เจ็บ) โดยค้นหายาใหม่ที่มีผลต่อการทำงานของเซลล์ต้นกำเนิด (Drugs modulating endogenous stem cells)
  11. สารอาหารและสมุนไพรที่มีผลต่อเซลล์ต้นกำเนิด
  12. เภสัชบำบัดและเภสัชบริบาลสำหรับเวชศาสตร์การฟื้นฟูสภาวะเสื่อม (Pharmaceutical care for regenerative medicine, Stem cell transplantation & Clinical pharmacy)
  13. กระบวนการเตรียมยา ATMPs ในโรงพยาบาล เป็นต้น

 

ด้วยความปรารถนาดีครับ

ภก. วีระพงษ์ ประสงค์จีน และคณะ

เซลล์ต้นกำเนิดกับการฟื้นฟูสภาวะเสื่อม: Stem Cells & Regeneration จากชีววิทยาสู่การแพทย์แห่งอนาคต

Posted in Uncategorized | 1 Comment »